000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > อย่าคุยว่าเล่นเครื่องเสียงเป็น จนกว่า...
วันที่ : 22/12/2017
5,655 views

อย่าคุยว่าเล่นเครื่องเสียงเป็น จนกว่า...

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

จากการคลุกคลี หมกมุ่น เฝ้าศึกษา ทดสอบ ทดลอง กล่องดูดคลื่นวิทยุ (RF) ยี่ห้อ PERFECT POWER RT-1 อยู่ร่วม 4 เดือน เพื่อให้ “รู้จัก” RT-1 ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งประสิทธิภาพและการใช้งาน คิดดูเอาว่า ว่างเมื่อไหร่ นั่งทดสอบ คิดอะไรแปลกๆ ในการใช้งานได้ ก็ทดสอบแนวคิดนั้นๆ เฉลี่ยนั่งลองฟัง, ลองดู วันละ 4 ชั่วโมง (สูงสุดวันละ 12 ชั่วโมง!) 4 เดือนกว่า ไม่เมาก็บ้าละครับ กับ RT-1 ตั้งแต่ 1 กล่อง ถึง 10 กล่อง โน่น นี่ นั่น โน่น

                ทำให้ได้เข้าใจ และตระหนักถึงผลร้ายของการถูกรบกวนด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radio Frequency หรือ RF) อย่างถึงกึ๋นที่สุด เรียนตรงๆ ว่า เป็นเรื่องที่น่าตื่นตระหนกอย่างยิ่งยวด ทำให้ทุกครั้งที่ได้ฟัง, อ่าน ท่านนักเล่น, นักวิจารณ์ ตามสื่อต่างๆ ทั้งนิตยสาร, สื่อโซเชียล วิพากษ์ วิจารณ์ โน่น นี่ นั่น เกี่ยวกับอุปกรณ์หลัก อุปกรณ์เสริม ด้านเครื่องเสียง...ก็อดไม่ได้ที่จะต้องถอนหายใจอย่างแรง เพราะสิ่งต่างๆ ข้อคิด, ความเห็นต่างๆ ที่เหล่าท่านวิจารณ์กันอย่างสนุกปากนั้น ถือเอาสาระความจริงอะไรไม่ได้เลย มิใช่เพราะเขาเหล่านั้นฟังไม่เป็น ดูไม่เป็น หากแต่เพราะพวกเขาลืมนำองค์ประกอบสำคัญที่สุดคือ เรื่องของ RF กวน มาคำนึงถึงด้วยนั่นเอง

                ผมจะเล่า สารพัดประสบการณ์จากการใช้ RT-1 ให้ฟัง โดยขอพูดถึงสิ่งที่มันปรับปรุงขึ้นมา เพราะนั่นก็คือ การดูดซับ บล็อคคลื่น RF ไม่ให้ไปรบกวนชุดเครื่องเสียงนั่นเอง หรือมองย้อนกลับก็คือ ผลเสียที่คลื่น RF ไปป่วนเสียง(ภาพ)ที่ควรจะเป็น ถ้าไม่ถูกป่วนด้วยคลื่น RF นั่นเอง ต้องเข้าใจก่อนว่า RT-1 มิได้ไปแต่ง, เติม เสริมอะไร เป็นแต่มันไปชำระล้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษต่อเครื่องเสียง ให้แสดงเนื้อแท้อย่างที่ควรจะเป็นมากกว่า

                1. RF ทำให้โน้ตตัวเดียวกันที่ควรจะแสดง, คายออก ซึ่งความถี่คู่ควบทั้งด้านสูงกับด้านต่ำ ที่มากับความถี่หลัก ได้คลี่คลายออกมา ไม่ถูกบดบัง กลบทับด้วยความถี่หลักเดิม คุณจึงได้ยินความถี่ซับซ้อนต่างๆ แถม, แทรกออกมากับเสียงหลักเดิม ทำให้จำแนก แจกแจง อากัปกิริยา การสอดใส่อารมณ์ของนักดนตรี, นักร้อง ได้กระจ่างแจ้งขึ้น มีชีวิตชีวา มีจิตวิญญาณมากขึ้น แยกเครื่องดนตรีราคาถูกจากเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันที่ราคาสูงกว่า นักร้องแต่ละคน ถ่ายทอดบุคลิกเสียงของแต่ละคนได้แตกต่างจากกันได้ชัดขึ้น (รวมทั้งแต่ละเครื่องดนตรี) ทำให้ฟังแล้วทุกเสียงเป็นพระเอกได้หมด ไม่ลู่ไปในแนวบุคลิกจำเจอันหนึ่งเหมือนกันตลอดเวลา (Monotone คือ ไร้สีสัน) พูดง่ายๆ ความเพี้ยน IMD (Inter Modulation Distortion) ลดลง

                2. ได้ยินเสียงเริ่มต้นคำร้อง, เริ่มต้นเล่นโน้ตแรกของเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ

                3. ความถี่เสียง (Frequency Response) ราบรื่นขึ้น อาการเสียงโด่ง, ตก เป็นช่วงเป็นจุด ลดลง

                4. การสวิงเสียงจากค่อยสุดไปดังสุด กว้างขึ้น กระหึ่มขึ้น ตลอดทุกช่วงความถี่ และเที่ยงตรงเป็นเส้นตรงขึ้น (Linearity Dynamic Contrast)

                5. น้ำหนักเสียงดีขึ้น ไม่ใช่สักแต่ว่าดังอย่างเดียว แต่แรงถีบดีขึ้น (Solid & Punch) ทุ้มทิ้งตัวลงพื้นห้อง ควบแน่น กระชับ

                6. ความกังวานดีขึ้น แยกจากเสียงตรงมากขึ้น พริ้วสว่าง โปร่งทะลุ

                7. รายละเอียดดีขึ้น หัวโน้ตคมชัดขึ้น (ทุกช่วงความถี่) อะไรที่ดังค่อยมากๆ ก็สังเกตได้หมดแม้ช่วงเสียงสลับซับซ้อน (Low Level Detail ดีขึ้น)

                8. ตอบสนองฉับไวขึ้น (อย่างเป็นธรรมชาติ) (Transient Response) ดีขึ้น

                9. ทรวดทรงเสียงดีขึ้น (3D) ทุกช่วงความถี่

                10. ทุ้ม, กลาง, แหลม ไม่แตกทัพ เกาะกลุ่มหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันดีขึ้น (Linear Phase)

                11. เสียงลงได้ทุ้มลึกขึ้น ปลายแหลมไปได้สูงมากขึ้น (Power Bandwidth กว้างขึ้น)

                12. เวทีเสียงเปิดเผย กว้างออกทุกทิศทาง ทั้งลึกไปหลังลำโพง โอบมาซ้าย, ขวาหลัง สูง-ต่ำ อยู่บนเพดาน (เสียงเม็ดฝุ่นทราย ตกลงมาจากเพดานได้ มาจากด้านหลังได้) เวลาดูหนัง (2 CH ลำโพงคู่เดียว) เสียงวิ่งจากหน้ามาหลังได้จะแจ้งขึ้นดุจเซอราวด์

                13. ภาพมีทรวดทรง 3D ขึ้น คมชัดขึ้น สัญญาณกวนลดลงอย่างมาก สีสันสด ฉ่ำ อิ่ม ภาพแวววาวดีขึ้น ไฮไลต์ดีขึ้น (Dynamic Contrast ดีขึ้น), การกระตุกลดลง

                14. ช่องไฟระหว่างตัวโน้ตดีขึ้น

                15. เสียงกับภาพ ตำแหน่งตรงกันบนจอ เป๊ะขึ้น

                16. เสียงต่างๆ สมจริงมากขึ้น (Harmonics ครบขึ้น)

                17. เสียงโดยรวมเหมือนดังขึ้น เกลี้ยงสะอาดขึ้น (โดยเฉพาะปลายแหลมสุด)

ข้อคิดปิดท้าย

                คิดดูว่า คลื่น RF มันบดบัง บิดเบือนเสียงจริงถึง 17 ข้อ มากขนาดนี้ มากน้อยแค่ไหน ข้อใดหนัก ข้อใดเบา ขึ้นอยู่กับการออกแบบว่า ได้ป้องกันและคำนึงถึง 17 ข้อนี้ไหม อย่างไร

                ถ้าละเลย หรือมองข้ามปัญหา RF การออกแบบอุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ช่วย ไม่ว่าในรูปแบบอคูสติกจูน, โครงสร้าง/ตัวนำสาย, หัวเสียบ, ช่องรับ-ออกสัญญาณ หรือแม้แต่อุปกรณ์หลักเช่น แหล่งกำเนิดรายการ, ปรี, เพาเวอร์, อินทิเกรท ก็จะหลงทางไป มัวแต่เลือก, จูนต่างๆ นาๆ เพื่อแก้ให้ได้สิ่งที่ต้องการ โดยลืมไปว่า ปัญหา RF มันไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะสัญญาณ, ความแรง, ความถี่, ความฉับไว, สิ่งแวดล้อม (RF มากน้อยแค่ไหน, ลักษณะการกวน ฯลฯ) ซึ่งเอาแน่ไม่ได้ คาดเดาล่วงหน้าไม่ได้ (นอกจากตามกำจัดตลอดเวลา)

                แน่นอนว่า การออกแบบอุปกรณ์เครื่องเสียงนั้นๆ ย่อมไม่มีทางแก้ได้จริง จะเหมือนได้อย่างเสียอย่าง (หรือหลายอย่าง) จับปูใส่กระด้ง ฟังนานๆ บุคลิกจำเจ น่าเบื่อ เซ็ง

                จากประสบการณ์โชกโชนกับปัญหา RF ผมเชื่อสุดใจว่า ในการออกแบบใดๆ ก็ตาม ต้องคำนึงถึงปัญหา RF เป็นอันดับแรกสุด รวมทั้งการออกแบบห้องฟัง, การออกแบบระบบลำโพง, ระบบไฟ มิเช่นนั้นจะไม่มีวันทำให้ดีและถูกต้องได้เลย

หมายเหตุ 1 ควรอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านบททดสอบ “กล่องดูดคลื่น PERFECT POWER RT-1” ให้ครบทั้ง 3 ตอน ในเว็บไซต์ maitreeav.com นี้ (รวมทั้งบทสัมภาษณ์ อจ. นิตพินัย ผู้ออกแบบและผลิต)

หมายเหตุ 2 การกำจัดคลื่น RF ทั้งต่อชุดเครื่องเสียงและต่อการรับรู้ของ “สมอง” จะทำให้เสียง, มิติ ดีขึ้นได้ตั้งแต่ 60% ถึง 130%!!

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459